สวัสดีครับ ท่านสมาชิก

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกเคมีครับ

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ไอโซโทป ไอโซโทน ไอโซบาร์

 สัญลักษณ์นิวเคลียร์


สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (Nuclear symbol) เป็นสิ่งที่ใช้เขียนแทนโครงสร้างของอะตอม โดยบอกรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอม วิธีการเขียนตามข้อตกลงสากลคือ เขียนเลขอะตอมไว้มุมล่างซ้าย และเลขมวลไว้มุมบนซ้ายของสัญลักษณ์ของธาตุ

เขียนเป็นสูตรทั่ว ๆ ไปดังนี้


สัญลักษณ์นิวเคลียร์ = AZX

X คือ สัญลักษณ์ของธาตุ

A คือ เลขมวล

Z คือ เลขอะตอม


ถ้าให้ n = จำนวนนิวตรอน

จะสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างเลขอะตอม เลขมวล และจำนวนนิวตรอนได้ดังนี้


เลขมวล = เลขอะตอม + จำนวนนิวตรอน

A = Z + n


ดังนั้นสัญลักษณ์นิวเคลียร์จึงทำให้ทราบว่าธาตุดังกล่าวนั้นมีอิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน อย่างละเท่าใด


ไอโซโทป

    ไอโซโทป (Isotope) หมายถึง อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีโปรตอนเท่ากัน (หรืออิเล็กตรอนเท่ากัน ) แต่มีเลขมวลและจำนวนนิวตรอนต่างกัน (หรือมีมวลต่างกัน)


อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ซึ่งมีผลทำให้มวลต่างกัน

อะตอมของธาตุดังกล่าวเรียกว่าเป็นไอโซโทป เช่น 12C, 13C และ 14C เป็นไอโซโทปกัน (เลขอะตอม C = 6 )

ไอโซโทปของธาตุบางชนิดอาจจะมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ

เช่น ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป และมีชื่อเฉพาะดังนี้

11H เรียกว่า โปรเตรียม ใช้สัญลักษณ์ H

21H เรียกว่า ดิวทีเรียม ใช้สัญลักษณ์ D

31H เรียกว่า ตริเตรียม ใช้สัญลักษณ์ T


ไอโซโทน (Isotone)

ไอโซโทน ( Isotone ) หมายถึง ธาตุต่างชนิดกันที่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน แต่มีเลขมวลและเลขอะตอมไม่เท่ากัน

เช่น 188O 199F เป็นไอโซโทนกัน มีนิวตรอนเท่ากันคือ n = 10

จะเห็นได้ว่าเฉพาะ n เท่านั้นที่เท่ากัน แต่ A และ Z ไม่เท่ากัน จึงเป็นไอโซโทน



ไอโซบาร์(Isobar)

ไอโซบาร์ (Isobar) หมายถึง ธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน แต่มีมวลอะตอมและจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน

เช่น 3015P กับ 3014Si มีเลขมวลเท่ากันคือ 30


จะเห็นได้ว่าเฉพาะ A เท่านั้นที่เท่ากัน แต่ Z และ n ไม่เท่ากัน จึงเป็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น